Disney Mickey Mouse Glitter

วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559

Lesson 3

วิชาการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

( Creative Art  Experiences  Management  for Early Childhood)

อาจารย์ผู้สอน ว่าที่ ร.ต.กฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด

วันพฤหัสบดีที่  28   มกราคม  2559
เรียนครั้งที่  3
   เวลา   08.30 - 13.30 น.


วัสดุ อุปกรณ์ สำหรับงานศิลปะเด็กปฐมวัย

วัสดุที่ใช้ในงานศิลปะ

   วัสดุ คือ สิ่งที่ใช้แล้วหมดไป เช่น กระดาษ สี กาว ฯลฯ
            วัสดุที่ใช้ในการทำผลงานทางศิลปะอาจเป็นวัสดุที่มีขายทั่วไปหรือเป็นวัสดุจากธรรมชาติ หรือที่มีในท้องถิ่น และเหมาะสมกับวัยและวุฒิภาวะของเด็ก 
หลีกเลี่ยงวัสดุที่เป็นอันตรายกับเด็ก เช่น วัสดุที่มีปลายแหลม   คม แตกหักง่าย  ภาชนะที่เคยบรรจุสารเคมี  หรือน้ำยาต่างๆที่ยังอาจติดค้าง  หรือมีกลิ่นระเหยที่เป็นอันตรายต่อเด็ก

      

 วัสดุที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย


    กระดาษ  เป็นวัสดุที่สามารถนำมาใช้สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะได้อย่างกว้างขวาง เพราะ หาง่าย ราคาไม่แพง เป็นวัสดุที่เด็กคุ้นเคย เช่น กระดาษวาดเขียน  กระดาษปรู๊ฟ กระดาษโปสเตอร์สีต่างๆ กระดาษมันปู กระดาษจากนิตยสารที่ไม่ใช้แล้ว เป็นต้น    

       การนำกระดาษมาใช้กับเด็กครูควรคำนึงถึงความเหมาะสมในการใช้งานของกิจกรรมนั้นๆ เพื่อจะได้งานที่ดี สวยงามและเหมาะสม  ไม่ควรใช้กระดาษที่มีราคาแพงจนเกินไป


กระดาษวาดเขียน  ซึ่งมีความหนาไม่เท่ากัน ที่เรียกเป็นปอนด์ มี 60  80  100 ใช้ได้ดีกับงานวาดรูป ระบายสีทุกชนิดสำหรับเด็ก



กระดาษโปสเตอร์  มีทั้งชนิดหน้าเดียว และสองหน้า ทั้งหนาและบาง สีสดใส หลากสี ราคาค่อนข้างแพง ใช้ในงานตัด ประดิษฐ์เป็นงานกระดาษสามมิติเป็นส่วนมาก




กระดาษมันปู  เป็นกระดาษผิวเรียบมันด้านหนา ด้านหลังเป็นสีขาว มีสีทุกสี เนื้อบาง เหมาะกับการทำศิลปะประเภทฉีก ตัด พับ ปะกระดาษ



กระดาษจากนิตยสาร  เป็นกระดาษที่เหมาะในการนำมาใช้กับเด็กเล็กๆ เพราะไม่ต้องซื้อหา เพียงแต่สะสมไว้ ซึ่งสามารถใช้แทนกระดาษมันปูได้เป็นอย่างดี




กระดาษหนังสือพิมพ์ เป็นกระดาษที่ใช้ได้เช่นเดียวกับกระดาษนิตยสาร แต่จะบางกว่า แต่หมึกอาจเลอะมือเด็กได้มากกว่า แต่ก็มีขนาดใหญ่ใช้ในการรองปูโต๊ะหรือพื้นกันเปื้อน ใช้ในงานที่ต้องการกระดาษชิ้นใหญ่ๆ เช่นการทำหุ่นตัวใหญ่ๆ





สีที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย
         
 สี เป็นวัสดุที่ดึงดูดความสนใจของเด็กเป็นอย่างมาก สีที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย เช่น สีเทียน สีฝุ่น สีโปสเตอร์ สีผสมอาหาร สีจากธรรมชาติต่างๆ สีแต่ละชนิดมีคุณสมบัติและข้อบ่งใช้ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับกิจกรรมแต่ละประเภทที่จัดให้กับเด็ก

    สีเทียน ( Caryon )  คือสีที่ผสมกับขี้ผึ้ง    แล้วทำเป็นแท่ง มีหลายสีหลายขนาด สีเทียนที่ดีควรมีสีสด ไม่มีไขเทียนมากเกินไป  สีเทียนที่มีราคาถูกมักมีส่วนผสมของขี้ผึ้งมากกว่าเนื้อสี เมื่อนำมาใช้จะได้สีอ่อนๆ ใสๆ ไม่ชัดเจน มีเทียนไขเกาะกระดาษหนา ควรเลือกชนิดที่มีเนื้อสีมากกว่าเนื้อเทียน มีสีสด แท่งโต เพื่อเด็กหยิบจับถนัดมือกว่าแท่งเล็กและไม่หักง่าย หากซื้อเป็นกล่องควรเปิดดูที่มีสีสดๆ สีเข้มๆมากกว่าสีอ่อนๆ  ถ้าไม่มีสีขาวเลยจะดีกว่า เพราะเด็กใช้สีขาวน้อย


    สีชอล์กเทียน (oil pasteal)  เป็นสีที่มีราคาแพงกว่าสีเทียนธรรมดา โดยทั่วไปคล้ายสีเทียน เป็นสีชอล์กที่ผสมน้ำมันหรือไข สีสดใส เนื้อนุ่ม สีหนา เมื่อระบายด้วยสีชนิดนี้แล้ว สามารถใช้เล็บ นิ้วมือ หรือกระดาษทิชชู ตกแต่ง เกลี่ยสีให้เข้ากันคล้ายรูปที่ระบายด้วยสีน้ำมัน สีชอล์กมักจะทำเป็นแท่งกลมเล็กๆ และมีสีมากเกินไปเหมาะสำหรับเด็กโตมากกว่าเด็กเล็ก



    สีเทียนพลาสติก (plastic crayon)  ผลิตขึ้นจากสีและพลาสติกผสม ทำเป็นแท่งเล็กๆ แข็ง มีสีสดหลายสี ใช้ระบายสีง่าย เหลาได้เหมือนดินสอ จึงสามารถระบายในส่วนที่มีรายละเอียดได้และสามารถใช้ยางลบธรรมดาลบบางส่วนที่ไม่ต้องการออกได้ แต่มีราคาแพงมาก


    สีเมจิก  (Water color)  บรรจุเป็นด้ามคล้ายปากกามี ชนิด คือชนิดปลายแหลมและปลายตัด  เป็นสีที่สว่างสวยงามและสดใส เหมาะสำหรับการขีดเขียนลายเส้น หรือการเขียนตัวหนังสือแต่อาจไม่เหมาะสำหรับเด็กระบายสีเนื้อที่กว้าง แต่เด็กเล็กๆ จะชอบเพราะใช้สะดวก สีสด แห้งเร็ว ถ้าเปื้อนล้างออกง่าย



    ปากกาปลายสักหลาด(felt pen)     บางทีเรียก ปากกาเคมี เป็นปากกาพลาสติก ปากเป็นสักหลาดแข็ง ภายในบรรจุด้วยหลอดสี เมื่อเขียนหมึกจะไหลซึมผ่านปากสักหลาดมาสู่พื้นกระดาษให้สีสดใสมาก ไม่เหมาะในการระบายพื้นที่กว้าง ถ้าทิ้งไว้นานๆ สีจะซีดเร็ว ควรให้เด็กสวมปลอกปากกาทุกครั้งที่เขียนเสร็จ


    ดินสอ (pencil)  เด็กๆ ส่วนมากอยากใช้ดินสอในการวาดรูป เหมือนผู้ใหญ่ทำกัน แต่อย่างไรก็ดี ไม่ควรใช้ดินสอเป็นเครื่องมือในการวาดรูปสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า ปี เพราะการเสดงออกตามธรรมชาติของเด็กจะหดหายไป




    ดินสอสี (color pencil) หรือสีไม้ ดินสอสีก็เช่นเดียวกับดินสอ คือเหมาะสำหรับเด็กโตๆ มากกว่าเด็กเล็กๆ เพราะนอกจากจะหัก ทู่ง่าย ต้องเหลาบ่อยๆ มีราคาแพงมากเมื่อเทียบกับเทียนหรือสีประเภทผสมน้ำ



สีที่ต้องผสมน้ำหรือเป็นน้ำ

             สีประเภทนี้ ได้แก่ สีฝุ่น สีน้ำ   สีโปสเตอร์ สีผสมอาหาร      สีพลาสติกผสมน้ำ ฯลฯ     สีแต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะ

     สีฝุ่น (tempera)  เป็นสีผง ทึบแสง มีหลายสี ใช้ผสมน้ำให้ใสข้นเป็นครีมอาจผสมกาวหรือแป้งเปียกด้วย ขึ้นอยู่กับงานแต่ละชนิด มีราคาถูกกว่าสีประเภทอื่น เก็บไว้ใช้ได้นาน มีขายตามร้านเครื่องเขียนทั่วไป เวลาใช้ต้องผสมกับของเหลวที่เหมาะสม นอกจากน้ำแล้วก็มีน้ำนม น้ำแป้งและน้ำสบู่



    สีโปสเตอร์ (poster color) ก็คือสีฝุ่นที่ผลิตบรรจุขวดขาย เป็นสีทึบแสง มีหลายสีใช้ผสมน้ำ เป็นสีที่ผสมเสร็จเรียบร้อยแล้วพร้อมใช้เลย ลักษณะคล้ายครีมมีราคาแพงกว่าสีฝุ่น เป็นสีที่เด็กๆ ใช้ง่าย แต่ถ้าต้องการสีอ่อนๆ จะผสมน้ำไม่ได้ จะต้องใช้สีขาวผสมจะได้สีอ่อน ระบายได้เรียบ



    สีน้ำ (water color) เป็นสีโปร่งแสง ไหล ผสมกลมกลืนง่าย สามารถใช้ในส่วนที่เป็นรายละเอียดได้ มีทั้งที่เป็นหลอดและก้อน ใช่กับพู่กันกลมหรือพู่กันแบนขนนุ่มช่วยระบาย น้ำเป็นตัวละลายให้ได้สีเข้มหรือเจือจางต่างกันออกไป เด็กเล็กๆ มักจะไม่ค่อยชอบใช้สีน้ำ เพราะเด็กช่วงนี้หากใช้สีน้ำในช่วงนี้ เด็กจะต้องคอยใช้พู่กันจามสีอยู่เสมอจึงวาดได้ ทำให้กระดาษเป็นรอยจุดๆ เส้นต่างๆ จะไหลไปถึงกัน ทำให้ภาพไม่ชัดเจน จนในที่สุดก็ดูไม่รู้เรื่อง ทำให้เด็กเบื่อเพราะควบคุมสียาก จึงเหมาะกับเด็กโตมากกว่าเด็กเล็ก


    สีพลาสติก (plastic or acrylic) มีขายตามร้านวัสดุก่อสร้าง บรรจุในกระป๋องหลายขนาด และแบบในหลอด ราคาสูง มีเนื้อสีข้น ระบายได้เนื้อสีหยาบ มีกลิ่น เหมาะกับงานใหญ่ที่ไม่ต้องใช้รายละเอียดมากนัก สามารถใช้แทนสีฝุ่นหรือสีน้ำได้ ข้อเสียคือ แปรงหรือพู่กันจะต้องจุ่มไว้ในน้ำเสมอ ขณะที่พักการใช้ชั่วคราว และจะต้องล้างอย่างดีหลังจากเลิกใช้แล้ว เนื่องจากสีมีคุณสมบัติแห้งเร็วจะทำให้พู่กันหรือแปรงแข็งใช้ไม่ได้


    สีจากธรรมชาติ  จะเป็นสีที่ได้จาก ผัก ผลไม้ ดอกไม้ ใบไม้ ลำต้น ราก หรือ เปลือกของพืช ดิน ฯลฯ เป็นสีที่ไม่สารเคมีเจือปน จึงไม่เป็นอันตราย แก่เด็ก อย่างไรก็ตาม สีจากธรรมชาติบางชนิดก็อาจเป็นอันตรายที่เกิดจากอาการแพ้ในรูปแบบต่างๆ ได้



วัสดุในการทำศิลปะ

     กาว  กาวที่เหมาะสมกับเด็กมากที่สุดคือกาวที่กวนเองจากแป้งมันหรือแป้งข้าวเหนียว เรียกว่าแป้งเปียก ราคาถูก ใช้งานได้ง่ายกว่ากาวชนิดอื่นๆ  ไม่เหนียวเหนอะหนะหรือยืดยาวเป็นเส้น ล้างออกง่าย นอกจากนี้ยังมี กาวน้ำ และ กาวลาเท็กซ์ ส่วนกาวถาวร หรือนิยมเรียกกันว่า กาวตราช้าง หรือกาวร้อน มักใช้ติดงานที่ต้องการความติดแน่นคงทน หากติดมือจะล้างออกยากมากต้องแช่และล้างในน้ำอุ่น เหมาะสำหรับผู้ใหญ่



    ดินเหนียว หรือดินตามธรรมชาติ  มีมากในต่างจังหวัด ขุดหาได้ทั่วไป มีความนิ่มเหนียว นำมาใช้ปั้น ตากแห้งหรือเผาเป็นเครื่องปั้นดินเผาได้ ระบายสีได้


    ดินน้ำมัน เป็นดินที่มีส่วนผสมของน้ำมันผสมอยู่ มีกลิ่นแรง เนื้อนิ่มเมื่อโดนความร้อน และแข็งได้เมื่อเจออากาศเย็น เหนียวติดมือไม่เหมาะกับเด็กเล็กๆ



    ดินวิทยาศาสตร์ มีลักษณะนิ่ม มีหลายสี ไม่เหนียวติดมือเหมือนดินน้ำมัน และมักจะไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายเจือปน จึงเหมาะสำหรับเด็ก



                                                              วัสดุอื่นๆ



อุปกรณ์ที่ใช้ในงานศิลปะ

            
อุปกรณ์ คือ เครื่องมือที่ใช้ในการทำงาน เป็นสิ่งที่ไม่หมดเปลืองไป แต่มีอายุในการใช้งานยืนนานตามชนิดหรือคุณภาพของสิ่งนั้นๆ


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสี

           
1.  สีเป็นองค์ประกอบของศิลปะที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกมากกว่าองค์ประกอบชนิดอื่น 
           
2.  สีเป็นวัตถุที่ได้จากธรรมชาติหรือจากที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นมา
                   - สีจากธรรมชาติ เช่น สีของดอกไม้ ใบไม้ ผล ราก ลำต้น
                   - สีจากการสังเคราะห์ขึ้นมา เช่น สีน้ำ สีโปสเตอร์ สีอะคริลิก สีฝุ่น สีน้ำมัน สีทาบ้าน สีพลาสติก ฯลฯ










 อิทธิพลของสีที่ให้ความรู้สึก

     สีเหลือง ร้อนและเย็น สว่าง เลื่อมใส น่าศรัทธา สดชื่น
     สีแดง    ร้อนรุนแรง ตื่นเต้น เร้าใจ
     สีเขียว    เย็น เจริญงอกงาม สดชื่น
     สีน้ำเงิน เย็น สงบเงียบ ความมั่นคง ความอุดมสมบูรณ์
     สีม่วง    เศร้า ลึกลับ ร้อนและเย็น มีเสน่ห์
     สีส้ม     ร้อน รุนแรง ตื่นเต้น
     สีน้ำตาล ความแห้งแล้ง น่าเบื่อหน่าย
     สีดำ      เศร้า มืด หนักแน่น น่ากลัว
     สีเทา     สงบ สบายใจ เคร่งขรึม
     สีขาว     สะอาด บริสุทธิ์ เรียบง่าย สว่าง
     สีฟ้า      สว่าง มีชีวิตชีวา
     สีชมพู   ร่าเริง สดใส



เทคนิคการเล่นสีน้ำ





การหยดสี



การเทสี



การเป่าสี




การพับสี





การสลัดสี



 การขูดสี







การดึงเส้นด้ายชุบสี





การกลิ้งลูกแล้วชุบสี





การละเลงสี





การพิมพ์ภาพ




วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2559

Lesson 2

วิชาการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้าวสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

 ( Creative Art  Experiences  Management  for Early Childhood)

อาจารย์ผู้สอน ว่าที่ ร.ต.กฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด

วันพฤหัสบดีที่  21   มกราคม  2559

เรียนครั้งที่  2   เวลา   08.30 - 13.30 น.  




ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ

1.ทฤษฎีพัฒนาการ
  • พัฒนาการทางศิลปะของโลเวนเฟลด์ (Lowenfeld) 
2.ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์ 
  • ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญา (Guilford)
  • ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์
  • ทฤษฎีความรู้สองลักษณะ (สมองสองซีก)
  • ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์
  • ทฤษฎีโอตา (ญี่ปุ่น)
3.ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด
  • นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน
  • ศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์ตัวประกอบของสติปัญญา
    - เน้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์
    - ความมีเหตุผล
    - การแก้ปัญหา
ความสามารถของสมอง
   แบ่งออกเป็น 3 มิติ
  • มิติที่ 1 เนื้อหา
    - ข้อมูลหรือสิ่งเร้าเป็นสื่อในการคิด สมองรับข้อมูลปคิดพิจารณณา 4 ลักษณะ คือ ภาพ สัญลักษณ์ ภาษา และ พฤติกรรม
  • มิติที่ 2 วิธีการคิด
    - การทำงานของสมอง 5 ลักษณะ การรู้จัก การเข้าใจ การจำ การคิดแบบอเนกนัย การคิดแบบเอนกนัย และ การประเมินค่า
  • มิติที่ 3 ผลของการคิด
    - มี 6 ลักษณะ คือ หน่วย จำพวก ความสัพันธ์ ระบบ การแปรรูป และ การประยุกต์ 
     
สรุป
  • ทำให้เราทราบความสามารถของสมองที่แตกต่างกันถึง 120 ความสามารถตามแบบจำลองโครงสร้างทางสติปัญญาในลักษณะ 3 มิติ มีเนื้อหา 4 มิติ วิธีการคิด 5 มิติ และผลการคิด 6 มิติ รวมความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ด้วย คือ วิธีการคิดอเนกนัย เป็นการคิดหลายทิศทาง หลายแง่มุม คิดได้กว้าง ซึ่งลักษณะการคิดนี้จะนำไปสู่การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งแปลกใหม่
ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์
  • เป็นนักจิตวิทยาและนักการศึกษาผู้มีเชื่อเสียง ชาวอเมริกัน
ลำดับของการคิดสร้างสรรค์ 5 ขั้น ของทอร์แรนซ์
  1. ขั้นการค้นพบความจริง
  2. ขั้นการค้นพบปัญหา
  3. ขั้นการตั้งสมมุติฐาน
  4. ขั้นการค้นพบคำตอบ
  5. ขั้นยอมรับผลจากการค้นพบ
 ตัวอย่าง
  1. ขยะ
  2. ทิ้งขยะไม่เป็นที่
  3. จัดการอย่างไรกับขยะ
  4. หาวิธีการจัดการกับขยะได้
  5. ยอมรับผล
*ทอร์แรนซ์ จึงเรียกขั้นการคิดสร้างสรรค์นี้ว่า "กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ "

ทฤษฎีความคิดสองลักษณะ
  • เป็นทฤษฎีที่กำลังได้รับความสนใจ เพราะ เป็นการค้นพบความรู้เกี่ยวกับการทำงานของสมองมนุษย์
  • การทำงานของสมอง
    - ซีกซ้าย การคิด เหตุผล เชิงวิชาการ
    - ซีกขวา ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ
  • แพทย์หญิง กมลพรรณ ชีวพันธุศรี กล่าวว่า
    - สมองซีกขวา เป็นส่วนของจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ สามารถพัฒนาได้มากในช่วงวัย 4-7 ปี
    - สมองซีกซ้าย เป็นส่วนของการคิด เหตุผล และพัฒนาดีที่สุดในช่วงอายุ 9-12 ปี และสมองจะเจริญเติบโตเต็มที่เมื่ออายุ 11-13 ปี
แนวคิดเกี่ยวกับการทำงานของสมองสองซีก
  • ผู้เรียนได้เรียนรู้และทำกิจกรรมแบบบูรณาการ
  • มีการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ หรือ 4 MAT
  • มีการทำกิจกรรมที่หลากหลาย
ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์
  • การ์ดเนอร์ เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยาการศึกษา ชาวอเมริกัน
  • ศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายของสติปัญญา
  • ผู้คิดค้นทฤษฎีพหุปัญญา (ศักยภาพและความสามารถที่หลากหลายของมนุษย์)
การ์ดเนอร์จำแนกความสามารถหรือสติปัญญาของคนเอาไว้ 9 ด้าน
  1. ความสามารถด้านภาษา
  2. ความสามารถด้านดนตรี
  3. ความสามารถด้านกีฬาและการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย
  4. ความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์
  5. ความสามารถด้านธรรมชาติศึกษา
  6. ความสามารถในด้านการคิดพลิกแพลงแตกต่างในการแก้ปัญหา
  7. ความสามารถด้านตรกกวทิยาและคณิตศาสตร์
  8. ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์
  9. ความสามารถด้านจิตวิเคราะห์
ลักษณะสำคัญ
  • ปัญญา มีลักษณะเฉพาะด้าน
  • ทุกคนมีปัญญาแตะละด้าน 9 ด้าน
  • ทุกคนสามารถพัฒนาปัญญาให้สูงขึ้นได้
ทฤษฎีโอตา (AVTA)
  • ขั้นที่ 1 การตระหนัก
    ต้องตระหนักถึงความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ที่มีต่อตนเองทั้งในอดีตและปัจจุบัน เช่น
         - การพัฒนาปรัชญาณ
         - การรู้จักและเข้าในตนเอง
         - การมีสุขภาพจิตที่สมบูรณ์
         - การมีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม
  • ขั้นที่ 2 ความเข้าใจ
    มีควาามรู้ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเรื่องต่าง ๆ
         - ความรู้และเนื้อหาบุคลิกภาพ
  • ขั้นที่ 3 เทคนิควิธี
    - เทคนิควิธีการใช้การฝึกความคิดสร้างสรรค์
    - การระดมสมอง
    - การคิดเชิงเปรียบเทียบ
    - การฝึกจินตนการ
  • ขั้นที่ 4 การตระหนักในความจริงของสิ่งต่าง ๆ
    - เปิดกว้างรับประสบการณ์ต่างๆ โดยปรับตัวอย่างเหมาะสม
    - มีความคิดริเริ่มและผลิตผลงานตนเอง
    - สามารถปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงแนวทางในการดำเนินชีวิตที่เหมาะสม
พัฒนาการทางศิลปะ
  • วงจรของการขีดๆ เขียน
เคลล็อก (Kellogg) จำแนกขั้นตอนเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
  • ขั้นที่ 1 ขั้นขีดเขี่ย (Placement Stage)
    - เด็กวัย 2 ขวบ
    - ขีดๆ เขี่ยๆ ตามธรรมชาติ
    - ขีดเขี่ยโดยปราศจากการควบคุม
    - ขีดเขี่ยเป็นเส้นตรงบ้าง เส้นโค้งบ้าง
  • ขั้นที่ 2 ขั้นเขียนเป็นรูปร่าง (Shape Stage)
    - เด็กวัย 3 ขวบ
    - การขีดๆ เขียนๆ เริ่มเป็นรูปร่างขึ้น
    - เขียนวงกลมได้
    - ควบคุมมือกับตาให้สัมพันธ์กันมากขึ้น
  • ขั้นที่ 3 ขั้นรู้จักออกแบบ (Design Stage)
    - เด็กวัย 4 ขวบ
    - ขีดๆ เขียนๆ เป็นรูปร่างเข้าด้วยกัน
    - วาดโครงสร้างหรือเค้าโครงได้
    - วาดสี่เหลี่ยมได้
  • ขั้นที่ 4 ขั้นการวาดแสดงเป็นภาพ
    - เด็กวัย 5 ขวบ
    - วาดสามเหลี่ยมได้
    - รับรู้ความเป็นจริง เขียนภาพสแดง
พัฒนาการด้านร่างกาย 
   กีเซลล์ และ คอร์บิน
  • การตัด
    - อายุ 3-4 ขวบ ตัดเป็นชิ้นส่วนได้
    - อายุ 4-5 ขวบ ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้
    - อายุ 5-6 ขวบ ตัดกระดาษตามเส้นโค้งหรือรูปต่างๆ ได้
  • การขีดเขียน- อายุ 3-4 ขวบ วาดวงกลมได้
    - อายุ 4-5 ขวบ วาดสี่เหลี่ยมได้
    - อายุ 5-6 ขวบ วาดสามเหลี่ยมได้
  • การพับ- อายุ 3-4 ขวบ พับและรีดสัน 2 ทบตามแบบ
    - อายุ 4-5 ขวบ พับและรีดสัน 3 ทบ
    - อายุ 5-6 ขวบ พับและรีดสันได้อย่างคล่องแคล่ว
  • การวาด
    - อายุ 3-4 ขวบ วาด หัว ตา ขา ปาก
    - อายุ 4-5 ขวบ วาด หัว ตา ขา ปาก จมูก ลำตัว เท้า
    - อายุ 5-6 ขวบ วาดรายละเอียดมากขึ้น
กิจกรรมมือน้อยสร้างสรรค์



กิจกรรมวาดภาพต่อเติม